การเลือกพื้นที่

28 05 2009

ปัจจัยการพิจารณาทำเลปลูกบ้าน

การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนนั้นจำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องเลือกตำแหน่งที่จะปลูกบ้านให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และการใช้สอยอาคารของผู้อยู่อาศัย เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยอยู่อย่างมีความสุข ปัจจัยการพิจารณาเบื้องต้นในการเลือกทำเล และแบบบ้าน สามารถอาศัยหลักง่ายๆพิจารณาตัดสินใจได้ดังนี้
1.สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ
ปกติแล้วประเทศไทยจะมีอากาศช่วงหน้าร้อน พัดผ่านในทิศตะวันตกและตะวันออกเฉียงเหนือ ทำ ให้เราต้องพิจารณาให้แนวตามยาวของบ้านไปตามทิศของดวงอาทิตย์ ออก- ตก เพราะจะทำให้ อากาศสามารถผัดผ่านเข้าหน้าต่างได้ง่าย และแสงจากดวงอาทิตย์จะไม่สามารถส่องเข้าในอาคารได้มาก
โดยการวางตำแหน่งห้องน้ำ ห้องครัว ห้องเก็บของ ควรวางให้มีตำแหน่งด้านทิศตะวันตก เพราะจะได้รับแสงแดดมากกว่าห้องอื่น เพื่อไม่ให้ห้องอื่นได้รับความร้อนโดยตรงและยังช่วยให้ห้องนั้นไม่มีการสะสม ความชื้นไว้ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค และสุขอนามัยของเจ้าของบ้าน
หากบริเวณที่จะปลูกสร้างเป็นเนินเขา หรือชายทะเล ควรสังเกตุหรือสอบถามทิศทางลม บริเวณนั้นได้จากชาวบ้านแถวๆนั้นก่อนตัดสินใจวางทิศทางของตัวบ้านว่าจะหันไปทิศใด
2.ระดับความสูง
บริเวณที่จะปลูกบ้านจะต้องเป็นบริเวณ ที่เป็นดินเดิม หากเป็นที่ดินที่เพิ่งถมใหม่ อาจต้องรอให้มีการทรุดตัวให้ได้ที่เสียก่อน จึงจะเริ่มลงมือปลูกบ้านได้ เพราะดินถมใหม่จะมีการทรุดตัวค่อนข้างมาก อาจทำให้บ้านดินเกิดการเสียหายได้ ปกติจะต้องรอให้ดินทรุดตัวประมาณ 1 ปีก่อน และดินที่ถมควรเป็นดินทราย ลูกรัง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ดินเหนียวมาถ่มใหม่
ระดับดินบริเวณที่จะปลูกสร้างบ้านดิน ต้องเป็นบริเวณที่น้ำท่วมไม่ถึง ซึ่งจะสามารถสังเกตุได้จากรอยคราบน้ำบริเวณต้นไม้ รั้ว หรือ บ้านเรือนแถวๆนั้น เพราะหากมีน้ำท่วมแล้ว มักจะทิ้งคราบน้ำให้ได้สังเกตุได้ง่าย หรือ สอบถามผู้ที่อยู่อาศัยย่านนั้น ก็ได้ว่าแถวนั้นเคยมีการท่วมระดับสูงสุดเท่าไร และควรเผื่อระดับความสูงอีกซัก 50-100 เซนติเมตร
ระดับภายในตัวบ้านเองก็มีส่วนสำคัญ เพราะเราควรคำนึงตอนแก่ชราด้วย การมีระดับความสูงแตกต่างกัน ทำให้ต้องเผลอสดุดให้ได้รับบาดเจ็บได้ง่าย โดยเฉพาะห้องน้ำเป็นบริเวณที่ผู้สูงอายุได้รับบาดเจ็บมากที่สุด
3.แบบบ้าน
บ้านดินในประเทศไทยส่วนใหญ่แล้วมักใช้วิธีแบบอิฐดินก่อ (Adobe) ซึ่งเป็นโครงสร้างผนังแบบรับแรง (Wall Bearing) แทนการสร้างแบบเสาและคาน ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุดสำหรับบ้านทั่วไปในประเทศไทย การก่อสร้างแบบผนังรับแรงนี้จะทำให้สามารถออกแบบบ้านให้มีรูปทรงโค้งได้ตาม ต้องการ ทำให้บ้านมีความสวยงามเป็นธรรมชาติมากกว่าแบบเหลี่ยมๆ และบ้านที่มีรูปกลม ซึ่งทำให้มีเส้นรอบรูปน้อยกว่าบ้านรูปทรงสี่เหลี่ยม ทำให้มีพื้นที่รับความร้อนสะสมจากดวงอาทิตย์ได้น้อยกว่าทำให้ร้อนน้อยกว่า บ้านที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยม
การสร้างบ้านดินที่มีรูปร่างๆกลมๆ ทำให้สามารถปรับเข้ากับภูมิทัศน์ของสภาพแวดล้อมธรรมชาติได้ง่าย แรกๆ เจ้าของบ้านมักจะเสียเวลาค่อนข้างมากกับการเลือกแบบบ้านให้สวยดังใจ แต่จริงๆ พอได้อยู่มีฟังก์ชั่นการใช้สอยตามที่ต้องการ แบบบ้านนั้นดูจะไม่ค่อยให้ความสนใจเลย เพราะวันๆก็จะอยู่แต่ในบ้านเท่านั้น นานๆถึงจะได้มายืนมองดูบ้านตัวเองซักที
การออกแบบบ้านให้มีกันสาด หรือ ชายคายาวๆ จะช่วยให้ผนังบ้านไม่ต้องรับแสงแดดและฝนโดยตรง ทำให้ยืดอายุเครื่องใช้ไม้สอยในบ้านจากแสงแดด และเป็นการลดความร้อนเข้าไปในตัวบ้านโดยตรง ทำให้ลดอุณหภูมิในตัวบ้านได้โดยตรง
4.สภาพแวดล้อม
เจ้าของบ้านสามารถกำหนดฟังค์ชั่นการ ใช้งานของตนเองขึ้นมาก่อน เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องรับแขก เป็นต้น และลองกำหนดความสัมพันธ์ในบ้านเอง และความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับการใช้สอยภายนอกอาคาร เช่นโรงรถ ลานซักล้าง ทางเดินเข้าบ้าน เพื่อให้สามารถใช้สวยได้ง่ายและลงตัว โดยให้มีระยะทางที่สั้นสุดในแต่ละฟังก์ชั่น เพราะหากสร้างบ้านไปแล้วต้องมาเดินยาวกว่าปกติ จะทำให้ไม่เกิดความสะดวกในการใช้สวย
หากมีบ่อน้ำในทิศทางก่อนที่ลมจะพัดเข้ามาถึงตัวบ้าน จะช่วยให้ลมพาไอเย็นของน้ำมามาในบ้าน เพื่อเพิ่มความเย็นให้บ้านได้อีกทาง เพราะน้ำที่ถูกแสงแดดจะระเหยขึ้นไปข้างบนและอากาศจะมีการปรับตัว ทำให้เกิดลมพัดเข้ามาแทนที่ ทำให้ผู้อยู่อาศัยแถวนั้นมีความรู้สึกที่เย็นสบายขึ้นกว่าปกติประมาณ 2 องศา
หากมีต้นไม้ใหญ่บริเวณที่จะปลูกสร้างบ้าน ก็จะสามารถได้ประโยชน์จากการอาศัยร่มเงาของต้นไม้ใหญ่นั้น  ทำให้บ้านนั้นไม่ได้รับความร้อนโดยตรง ซึ่งจะส่งผลให้เพิ่มความเย็นสบายในตัวบ้านได้
การปลูกไม้คลุมดินไม้พุ่ม ไม้ดอกไว้รอบๆบ้าน  นอกจากเราจะได้รับความสวยงามทางสายตาแล้ว ยังเป็นการลดความร้อนสะท้อนเข้าไปในอาคารได้อีกด้วย
ขอบคุณที่มา http://thaicontractors.com